สรุปความจากเสวนา “อนาคตไลท์โนเวลไทย”

 

future-of-thln

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่รู้เหมือนกันว่านึกคึกอะไรถึงกล้าออกไปข้างนอกได้ทั้ง ๆ ที่อยู่ในช่วงใกล้สอบกลางภาคได้ อนาคตไลท์โนเวลไทย” จัดขึ้นโดยร้าน Ba Ka Toon  ที่ร้าน Let’s Say Cafe ในวันที่ 24 กันยายน 2559 กี่ผ่านมา โดยในครั้งนี้มีผู้บรรยายทั้งหมด 5 ท่านจากในวงการการ์ตูนไทย คือ-

คุณ Manya เจ้าของเพจ เพราะชั้นจนไงล่ะ

นักเขียนนามปากกา Mr. American

นักเขียนนามปากกา Starless Night

นักเขียนนามปากกา Lilin

และคุณ ปาลิดา บรรณาธิการจากสำนักพิมพ์ Gift Book

ไหน ๆ ก็ได้ไปงานนี้มาแล้วก็ขอใช้โอกาสนี้มาเขียนสรุปงานบรรยายครั้งนี้ให้ได้อ่านกันครับ  (Late ไม่นิดหน่อย) จะพยายามเขียนให้คงรูปเดิมให้มากที่สุดนะครับ

มาเริ่มกันเลยดีกว่า


วรรณกรรมญี่ปุ่นนั้นเป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่มีอายุยืนยาวที่สุดของญี่ปุ่น โดยมีหลักฐานเป็นวรรณกรรมเรื่อง “ตำนานเก็นจิ” ที่ถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1000 (พ.ศ. 1543) ซึ่งนอกจากจะเป็นวรรณกรรมเรื่องแรกของญี่ปุ่นซึ่งเขียนในภาษาญี่ปุ่นแล้ว ยังกล่าวได้ว่าวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นนิยายเรื่องแรกได้อีกด้วย

Light Novel นั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของนิยายที่แตกแยกตัวออกมาจากกระแสนิยมในวรรณกรรมบริสุทธิ์ของช่วงสมัยหลังสงครามโลก ซึ่งวรรณกรรมบริสุทธิ์นั้นเป็นงานเขียนที่ต้องมีอำนาจสะเทือน สามารถชี้นำผู้อ่านในสังคมได้ แต่ Light Novel เองจะเป็นงานเขียนที่ผู้แต่งมีอิสระในการเขียนเล่าเรื่องราวในรูปแบบของตัวเอง ลักษณะต่าง ๆ ของตัวนิยายนั้นก็จะแตกต่างออกไปจากนิยายโดยทั่วไป ทั้งรูปเล่มที่จะมีขนาดเล็ก มีภาพวาดประกอบฉากคอยแทรกตัวอยู่กลางบทต่าง ๆ สำนวนการเขียนที่เน้นไปที่บทสนทนามากขึ้น รวมไปถึงการใช้รูปแบบอักษรที่ทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย

ตัววัฒนธรรม Light Novel เองนั้นก็ยังได้รับผลกระทบจาก Pop-culture อื่น ๆ อย่างเช่นเกม จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ประเภทของสื่อที่ได้ลุกขึ้นมาอยู่เคียงไหล่กับ Light Novel นั้นก็คือมังกะ และอนิเมซึ่งเป็นสื่อที่ผู้บริโภคสามารถติดคามได้ง่ายกว่าตัว Light Novel เอง สำหรับอนิเมเองนั้นก็มีจุดเปลี่ยนสำคัญ ๆ ในวงการอยู่ไม่กี่จุด อย่างเรื่อง Neon Genesis Evangelion ซึ่งเป็นอนิเมที่ทำให้เกิดเป็นจุดแบ่งแยกยุคของแอนิเมชั่นว่าเป็น “เรื่องก่อนยุค Evangelion” หรือเป็น “เรื่องหลังยุค Evangelion” ได้เลย

อนิเมจุดเปลี่ยนสำคัญเรื่องที่สองนั้นก็เป็นจุดที่ทำให้ Light Novel เข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับวงการอนิเมชั่น อย่างเรื่อง Shakugan no Shana (ชานะ นักรบเนตรอัคคี) ที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระแสการนำ Light Novel เข้ามาดัดแปลงเป็นอนิเม ด้วยความที่ตัวของงานเองนั้นจะมีฐานเสียงเดิมอยู่แล้ว ก็จะสามารถช่วยพยุงยอดการขายของอนิเมให้สูงขึ้น หรือในทางกลับกันก็อาจจะเป็นการสร้างอนิเมจำนวนตอนจำกัด เพื่อสนับสนุนยอดการขายของตัวนิยายก็ได้เช่นกัน

และอีกเรื่องหนึ่งที่ (ผู้บรรยาย) ได้กล่าวถึงก็คือ Madoka Magica ซึ่งเป็นจุดที่ได้ปลุกกระแสของแอนิเมชั่นต้นฉบับ ก่อนที่จะถูกดัดแปลงไปเป็นฉบับ Light Novel ให้ได้อ่านกัน ซึ่งการแสหลาย ๆ อย่างจากจุดเปลี่ยนที่ได้กล่าวไปนี้ก็ยังคงอยู่และสังเกตได้จากหลาย ๆ เรื่องในปัจจุบัน

หากไม่นับเรื่องนอกตลาดแล้ว สายธารของกระแส Light Novel ส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็น (และเริ่มต้น) ที่เรื่องแนว School Life ที่ทำให้ผู้อ่านในวัยโรงเรียนมีความคุ้นเคยกับตัวละคร ก่อนที่จะย้ายไปเป็นแนวเกม (เหตุเกิดจากเรื่อง Sword Art Online) แนวแฟนตาซีโลกใหม่ แนว “เกิดเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง-ในโลกใหม่” ซึ่งแน่นอนว่าเมื่ออะไรก็ตามได้ขึ้นเป็นกระแสหลัก ก็จะมีเหล่านิยายในแนวนั้นออกมา Flood (ท่วม) ตลาดหนังสืออย่างรวดเร็วจนเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้แนวเหล่านั้นก็สามารถถูกเบื่อจากทางนักอ่านได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน–

–ซึ่งอะไรจะขึ้นมาเป็นกระแสตลาดต่อไปนั้น มีเพียงพระเจ้าที่รู้

Light Novel ค่อย ๆ เข้ามาในไทยในรูปแบบของตลาด Niche (ค่อยเป็นค่อยไป) ก่อนที่จะเกิดการบูมขึ้นมาจาก Light Novel เรื่อง Sword Art Online ที่ทำให้เหล่านักอ่านบุกเข้าต่อแถวซื้อเล่มนิยายจนล้นออกมานอกอาคารจัดงาน(หนังสือ) รวมไปถึงการล่มสลายของสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่าง Bliss ที่ทำให้การถือลิขสิทธิ์ถูกกระจายออกไปหาเหล่ายักษ์เล็กอื่น ๆ อย่าง Luckpim, Animag, Zenshu (และอื่น ๆ ) จนทำให้เหล่าสำนักพิมพ์เหล่านั้นสามารถเติบโตขึ้นมาได้จนถึงในปัจจุบัน

ตลาด Light Novel ในปัจจุบันนั้นกำลังอยู่ในจุดที่มีการแข่งขันสูง ด้วยความที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น แต่ยังมีจำนวนทุนเท่าเดิมจึงทำให้เหล่าสำนักพิมพ์ต้องพยายามพัฒนารูปแบบการขายต่าง ๆ ทั้งการลด แลก แจก แถม และเพิ่มคุณภาพของสินค้าให้สูงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถดึงดูดเงินจากเหล่านักอ่านเข้ามา จนเรียกได้ว่าขณะนี้ จากตลาด Niche ที่เคยเป็นกันก็ได้กลายเป็นตลาด MAD แล้วก็ว่าได้

สำหรับขณะนี้นั้น ตลาด Light Novel ในไทยกำลังอยู่ในช่วงที่กำลังเติบโต จะสังเกตได้ว่าในร้านหนังสือต่าง ๆ นั้นจะเริ่มมีส่วนหนึ่งของชันหนังสือในร้านที่จะเป็นพื้นที่โดยเฉพาะให้กับ Light Novel ญี่ปุ่นแปลไม่แพ้ไปจากนิยายเจ้าบ้านของไทยเราเองเลย

โดย Light Novel หลายเรื่องในประเทศไทยนั้นก็มักจะเป็นเรื่องที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาพร้อม ๆ กับสื่อชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะฉบับแอนิเมชั่น จะสังเกตได้ว่าเมื่อมีอนิเมเรื่องใดฉายที่ประเทศญี่ปุ่น ทางสำนักพิมพ์ก็มักจะนำหนังสือมาวางขายในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อเกาะกระแสความดัง และสร้างยอดขายให้แก่ Light Novel ของตัวเอง หรือในบางสำนักก็จะมีการซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาทั้งสื่ออ่าน (หนังสือ) และสื่อชม เพื่อให้ผู้ชมสามารถเสพสื่อทั้ง 2 ชนิดได้ไปพร้อม ๆ กัน

หรือนอกจากตัวของกระแสต้นฉบับแล้ว รีวิวของ Light Novel (รวมไปถึงการ์ตูน) จากแหล่งต่าง ๆ อย่างบนอินเทอร์เน็ตนั้นก็สามารถถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการขายได้เช่นกัน

กระแสใต้น้ำอย่างหนึ่งที่เริ่มเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ คือนิยายชาย-ชาย (Yaoi) ซึ่งภายหลังมานี้ก็เริ่มได้รับการยอมรับกันมากขึ้น ทั้งเนื้อหาที่เริ่มถูกปรับลงให้พ้นจากเส้นอันตราย  รวมไปถึงฐานลูกค้าที่ไม่ได้น้อยไปจากกระแส Light Novel กันเลย จึงทำให้สามารถพูดได้ส่วนหนึ่งว่ากระแสของ yaoi นั้นมีอิทธิพลต่อวงการสิ่งพิมพ์ไทยได้เหมือนกัน

แต่ถึงแม้ว่าในขณะนี้ ตลาด Light Novel ในไทยนั้นกำลังเติบโดอยู่ แต่ก็เป็นไปได้ว่าความเข้มข้นของการแข่งขันก็จะมีมากเพิ่มขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่การแย่งชิงผู้อ่านระหว่างสำนักพิมพ์กันเอง แต่รวมไปถึงการต่อสู้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมการเสพการ์ตูนโดยรวมอีกด้วย ด้วยความที่กระแสของหนังสือในไทยนั้นยังตามหลังต้นตำรับ (ญี่ปุ่น) อยู่อย่างน้อย 2 ปี และความรวดเร็วของเทคโนโลยีจึงทำให้ผู้อ่านเริ่มเปลี่ยนมือไปจับสิ่งที่รวดเร็วกว่าอย่าง E-book (หรือพูดร้าย ๆ ก็คืออ่าน Pirate มากขึ้น) เพื่อให้ตัวเองสามารถติดตามกระแสหลักของเรื่องใด ๆ ได้ทันตามต้นฉบับ ประกอบกันการพากันล่มสลายไปของนิตยสารต่าง ๆ (เช่น BOOM, C-Kids, สกุลไทย) ซึ่งเป็นสื่อชั่วคราวที่ผู้อ่านมักจะไม่ค่อยให้คุณค่าสำหรับระยะยาวมากนัก เพราะจุดเด่นจริง ๆ ของนิตยสารเหล่านี้คือความเร็วของเนื้อหาที่วางจำหน่าย แต่ผู้อ่านที่ชอบเป็นเฉพาะเรื่องก็มักจะรอซื้อฉบับรวมเล่มเพียงอย่างเดียวมากกว่าที่จะซื้อในฉบับนิตยสารที่รวมกันหลายเรื่อง ทั้งด้วยความที่เก็บสะสมได้ง่าย และสามารถจัดการแยกแยะเรื่องได้สะดวกกว่าแบบนิตยสารนั่นเอง

วงการ Light Novel สัญชาติไทย นั้นก็อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตไม่ต่างจากกลุ่มของสำนักพิมพ์ลิขสิทธิ์เท่าไหร่นัก   ด้วยฐานลูกค้าที่ไม่แตกต่างกันจึงทำให้ Light Novel สัญชาติไทยนั้นมีคู่ต่อสู้ที่หลากหลาย ซึ่งปัญหาหนึ่งในปัจจุบันนั้นก็คือตอนนี้ยังอีกสำนวนสำนักพิมพ์ที่รับตีพิมพ์ Light Novel สัญชาติไทยอยู่น้อย เนื่องจากสำนักพิมพ์เหลานั้นมักจะเลือกเฉพาะเนื้อหาที่สามารถขายได้เพื่อเป็นการรักษาสภาพตัวเอง จึงทำให้เป็นไปได้ว่าผู้แต่งนั้นอาจจะเลือกวิธีการ Self-publishing (ตีพิมพ์ด้วยตัวเอง) บนอินเทอร์เน็ตไปก่อน เมื่อได้รับความนิยมจึงทำเป็นรูปเล่มออกมาขาย โดยจะเป็นการสั่งพิมพ์ผ่านโรงพิมพ์ในจำนวนไม่มาก แล้วเปิดให้ผู้ที่ต้องการสั่งซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต  เหตุผลหนึ่งที่ผู้ขายเหล่านั้นหลีกเลี่ยงการขายผ่านทางร้านหนังสือเกิดจากปัญหาของสายส่งซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการส่งค่อนข้างสูง (อาจจะมากถึงครึ่งหนึ่งของราคาปก) จึงทำให้พวกเขาเลือกที่จะใช้ระบบบริการขนส่งสาธารณะอย่างเช่นไปรษณีย์ไทยซึ่งค่าบริการต่ำกว่าในการขนส่ง  และทางนี้เป็นวิธีที่รวดเร็วและตรวจสอบยอดขายจริง ๆ ของหนังสือได้

แน่นอนว่าอนาคตของ Light Novel สัญชาติไทยนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไรกับ Light Novel แปลมากนัก ก็คือจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในตลาด พร้อม ๆ กับการแข่งขันที่สูงขึ้นเป็นเงาติดตัว อาจจะมีหลาย ๆ เจ้าที่เลือกที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นจุดเริ่มต้น (หรือลองสนาม) ของผลงานของตัวเอง หากผลลัพธ์ออกมาด็ก็อาจจะมีการนำไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้แก่ตัวเองต่อไป

ในฐานะของลูกค้าแล้วเราก็คงจะทำอะไรไม่ได้มากนักกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ หากแต่จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด โดยการสนับสนุนเจ้าของผลงานทุกครั้ง เพราะในขณะนี้ ทั้งสองฝ่าย (ผู้ซื้อ-ผู้ขาย) นั้นก็ยังมีความจำเป็นที่จะพึ่งพากันอยู่เสมอ หากทั้งสองฝ่ายคอยที่จะสนับสนุนกันให้สามารถอยู่รอด และเติบโตไปด้วยกันแล้ว เชื่อว่าอนาคตของ Light Novel ในไทยนั้นก็จะสดใสขึ้นมาได้ครับ.


สำหรับผู้ดำเนินงาน (พิธีกร) น่ะเหรอ ?

และ—(อยากรู้ก็กดสิว่าเกิดอะไรขึ้นหลังงาน)